บริการวิชาการ

บทความวิชาการ

ชื่อบทความ บทบาทของ Autophagy กับการติดเชื้อไวรัส
ผู้เขียนบทความ ภญ.ผศ.ดร.วิภาวรรณ ศิริกุลพาณิชย์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-1-000-001-01-2564
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 07 ม.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 06 ม.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต

 

บทคัดย่อ

Autophagy เป็นกระบวนการเซลล์กลืนกินตัวเอง ด้วยการรีไซเคิลสารหรือโมเลกุล ตลอดจนออร์กาเนลล์ที่เสียหาย และโปรตีนที่มีมากเกิน ภายในเซลล์เพื่อช่วยรักษาสมดุลภายในเซลล์ (homeostasis) ทั้งยังสอดประสานกับระบบภูมิคุ้มกันเมื่อมีการติดเชื้อไวรัส โดยหลังการติดเชื้อไวรัสพบว่า autophagy มีการเริ่มต้นกำจัดการติดเชื้อ โดยขนส่งอนุภาคไวรัสให้ไลโซโซมย่อย และกระตุ้นการจดจำโดยตัวรับของระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด ที่ส่งสัญญาณเหนี่ยวนำการจำกัดไวรัสโดย interferon (IFN) อย่างไรก็ตาม พบว่าไวรัสบางชนิดสามารถพัฒนากลไกต่อต้าน autophagy เพื่อหลบหลีกระบบภูมิคุ้มกันของโฮสต์ และช่วยเพิ่มจำนวนไวรัสในเซลล์โฮสต์ ในบทความนี้จะรวบรวมการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า autophagy ป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้อย่างไร และไวรัสมีกลไกการยับยั้งและใช้ประโยชน์จาก autophagy เพื่อทำลายการตรวจหาไวรัสโดยระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างไร ดังนั้นการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่าง autophagy และการติดเชื้อไวรัส จะช่วยนำสู่การพัฒนายา หรือการรักษาเพื่อต่อต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเอาชนะโรคติดเชื้อไวรัสในมนุษย์

อ่านบทความและทำแบบทดสอบได้ที่

https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=950

 

ชื่อบทความ การใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหยในการยับยั้งมะเร็ง
ผู้เขียนบทความ ภญ.ดร.สุกรรณิการ์ ทับทิมศรี และ ภก.ผศ.ดร.ยศนันท์ วีระพล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-1-000-002-01-2564
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 08 ม.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 07 ม.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต

บทคัดย่อ

น้ำมันหอมระเหยเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายอย่าง เช่น ยับยั้งการอักเสบ ยับยั้งเชื้อก่อโรค เช่น แบคทีเรีย รา มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งมีฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็ง องค์ประกอบสำคัญในน้ำมันหอมระเหยที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็ง เป็นสารในกลุ่มเทอร์พีน เทอร์พีนอยด์ และสารกลุ่มอะโรมาติก กลไกการออกฤทธิ์คาดว่าน้ำมันหอมระเหยมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระตุ้นให้เกิดการตายแบบอะพอพโทซิส กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเข้าสู่ระยะพัก ยับยั้งการแพร่กระจายและการสร้างเส้นเหลือดใหม่ เพิ่มการทำงานของกระบวนการกำจัดสารพิษ รวมทั้งเพิ่มการทำลายดีเอ็นเอ ในปัจจุบันการนำน้ำมันหอมระเหยไปใช้โดยตรงอาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้เพื่อป้องกันหรือรักษามะเร็ง เนื่องจากอาจลดประสิทธิภาพ และไม่เข้ากันกับของเหลวในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ยอมรับ การพัฒนารูปแบบการนำส่งจึงเป็นข้อควรพิจารณาที่สำคัญเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว รูปแบบเภสัชภัณฑ์ที่มีรายงานในการวิจัยก่อนหน้า เช่น นาโนอิมัลชัน นาโนพาร์ทิเคิล หรือ ลิโพโซม ล้วนแล้วแต่เป็นระบบนำส่งที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมในการนำส่งน้ำมันหอมระเหยไปยังเซลล์มะเร็ง ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความคงตัวของน้ำมันหอมระเหยอีกด้วย จากข้อมูลข้างต้นแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานชัดเจนถึงประสิทธิภาพทางคลินิกของการใช้น้ำมันหอมระเหยในการรักษามะเร็งเพียงวิธีเดียว แต่มีความเป็นไปได้ในการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยเพื่อรักษาเสริมร่วมกับแนวทางการรักษาหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลข้างเคยงของการรักษา และนอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะใช้ป้องการการเกิดมะเร็งอีกด้วย

อ่านบทความและทำแบบทดสอบได้ที่

https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=951

 

ชื่อบทความ ชีวประสิทธิผลและชีวสมมูล
ผู้เขียนบทความ เภสัชกรหญิง ดร. อาภา เพชรสัมฤทธิ์ และ เภสัชกร ดร. อนุสรณ์ ธรรมพิทักษ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-1-000-006-10-2563
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 15 ต.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 14 ต.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต

บทคัดย่อ

ปัจจุบันในท้องตลาดมียาสามัญ (generic drugs) และยาต้นแบบ (original drugs) ทั้งขนาดยาและรูปแบบยาจำนวนมากขึ้น ความรู้เกี่ยวกับชีวประสิทธิผล (bioavailability) และชีวสมมูล (bioequivalence) ของยาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องศึกษาและเข้าใจเพื่อเป็นการประเมินประสิทธิภาพของยาแต่ละชนิดในการนำมาใช้รักษาผู้ป่วย การศึกษาชีวประสิทธิผลของยาเป็นการศึกษาอัตราและปริมาณตัวยาสำคัญหรือโครงสร้างของส่วนที่ออกฤทธิ์ที่ถูกดูดซึมจากยาเข้าสู่กระแสเลือด และสามารถกระจายตัวไปยังบริเวณตำแหน่งของการออกฤทธิ์ เป็นการทำนายว่ายานั้นให้ผลการรักษาที่ดีหรือไม่ ส่วนการศึกษาชีวสมมูลเป็นการศึกษาความเท่าเทียมกันในประสิทธิภาพการรักษาของยาสามัญและยาต้นแบบ โดยยาจะมีชีวสมมูลกันเมื่อยานั้นมีความเท่าเทียมกันทางเภสัชกรรม (pharmaceutical alternatives) ซึ่งจะต้องมีตัวยาสำคัญ ขนาด ความแรง และรูปแบบยาเดียวกัน โดยเข้ามาตรฐานข้อกำหนดเหมือนกันหรือเทียบเท่ากัน และถ้ายาสามัญและยาต้นแบบมีค่าชีวประสิทธิผลเท่าเทียมกัน ยาสามัญนั้นก็จะมีประสิทธิผลและความปลอดภัยเช่นเดียวกันกับยาต้นแบบ

อ่านบทความและทำแบบทดสอบได้ที่

https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=899