การประกันคุณภาพการศึกษา

เกร็ดความรู้

IQA (Internal Quality Assurance) การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

ทบวงมหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา และได้จัดทำประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่องนโยบายและแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ตามหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ การให้เสรีภาพทางวิชาการ (academic freedom) ความมีอิสระในการดำเนินการของสถาบัน (institutional autonomy) และความพร้อมของสถาบันที่จะรับการตรวจสอบคุณภาพจากภายนอกตามหลักการของความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ accountability)

ต่อมาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ระบุให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนทรัพยากร ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระ และความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงมีหน้าที่ร่วมกับสถานศึกษาในการจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยมีประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่อง ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2546 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 5 และมาตรา 47 วรรคสอง เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

ต่อมาในปี 2553 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ซึ่งรวมการประกันคุณภาพภายในและภายนอกของการศึกษาทุกระดับไว้ในฉบับเดียวกัน โดยกำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปีและแจ้งผลให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทราบ รวมทั้งเปิดเผยผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาต่อสาธารณชน

EQA (External Quality Assurance) การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization) หรือชื่อย่อคือ สมศ. เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 (พ.ร.บ.) หมวด 6 ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับ พ.ร.บ. ดังกล่าว กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายในกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ระบุว่า “ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง”และได้ระบุถึงการประเมินคุณภาพภายนอกไว้ว่า “ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา”

                           
                                              รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอก

 

 

AUN-QA (Asean University Network Quality Assurance)

เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network : AUN) เป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเชียงใต้หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ 1995 (พ.ศ.2538) รวม 13 สถาบัน ต่อมาได้ขยายเป็น 27 สถาบัน ตามมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 ที่ประสงค์ในการสร้างอัตลักษณ์อาเซียนและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการเสริมความเข้มแข็งของเครือข่าย มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้บรรลุผลในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง AUN คือ
           1. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักปราชญ์ นักวิชาการ และนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาค
           2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิชาการและอาชีพในภูมิภาค 
           3. ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศระหว่างชุมชนนักวิชาการอาเซียน 

กิจกรรมหนึ่งของ AUN คือ เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance : AUNQA) AUNQA ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกการประกันคุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ระบบการประกันคุณภาพของ AUNQA ประกอบด้วย 3 มิติ คือ 

1. Strategic เป็นการประกันคุณภาพระดับสถาบันการศึกษา 
       2. Systemic เป็นการประกันคุณภาพระบบการประกันคุณภาพภายใน
       3. Tactical เป็นการประกันคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตร

 

                                     

รูปแบบการประกันคุณภาพระดับโปรแกรมหรือระดับหลักสูตรเน้นที่การจัดการเรียนการสอนโดยพิจารณาคุณภาพภายใน 3 มิติ คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต/ผลลัพธ์ โดยมีรูปแบบเริ่มจากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่จะให้เกิดกับตัวผู้เรียน การแปลงผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไปสู่โปรแกรมการศึกษาและวิธีที่จะทำให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ผ่านกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การประเมินคุณภาพระดับโปรแกรมการศึกษาของ AUNQA ใช้ระบบการประเมินจากคะแนนเต็ม 7 ในลักษณะ Rating scale ประกอบด้วยเกณฑ์ 15 เกณฑ์ แต่ละเกณฑ์ยังประกอบด้วยเกณฑ์การพิจารณาย่อย ๆ ลงไปอีก เกณฑ์หลักในการประเมินคุณภาพ มีดังนี้

1. Expected learning outcome         

2. Programme specification

3. Programme structure and content

4. Teaching and learning strategy

5. Student assessment         

6. Academic staff quality

7. Support staff quality

8. Student quality

9. Student advice and support         

10. Facilities and infrastructure

11. Quality assurance of teaching and learning process       

12. Staff development activities 

13. Stakeholders feedback    

14. Output 

15. Stakeholders satisfaction  

รูปแบบและแนวทางการประกันคุณภาพของ AUNQA สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนได้
 

Council of the University Presidents of Thailand Quality Assurance (CUPT QA)

           ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และ ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  (ทอมก) ภายใต้ชื่อ Council of the University Presidents of Thailand Quality Assurance (CUPT QA)
ระบบการประเมินคุณภาพที่ประยุกต์แนวคิดของการประเมินเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องสู่ความเป็นเลิศและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากลทั้งในระดับหลักสูตร ระดับคณะหรือเทียบเท่า และระดับสถาบัน

           ในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เป็นไปตามมาตรา 47 หมวดที่ 6 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ที่ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เป็นผู้รับผิดชอบตามลำดับนั้น ได้กำหนดตัวบ่งชี้เพื่อประเมินสถาบันอุดมศึกษาแยกชุดกัน ซึ่งเป็นภาระสำหรับสถาบันอุดมศึกษาเป็นอย่างมาก โดยตัวบ่งชี้ของทั้ง 2 หน่วยงานในปี พ.ศ. 2557 ก็ยังคงแยกชุดกัน นอกจากนี้ตัวบ่งชี้ยังไม่สะท้อนคุณภาพตามบริบทของสถาบันอุดมศึกษาที่มีความหลากหลาย ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จึงมีมติแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา (ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปในคู่มือฉบับนี้สั้นๆ ว่า “คณะทำงานฯ”) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2556 วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ที่เหมาะสม

           กอปรกับเมื่อพิจารณาความในมาตรา 48 ใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฯ ที่ระบุว่า “...การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง......และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก” [1] ทปอ. และ ทอมก จึงเห็นว่าควรกำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อการประกันคุณภาพภายในที่สอดคล้องกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มของ ทปอ. และ ทอมก และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกเป็นชุดเดียวกันเพื่อใช้ประโยชน์จากการประเมินคุณภาพการศึกษาได้มากที่สุดและเป็นภาระต่อสถาบันอุดมศึกษาอย่างสมเหตุสมผล

           นอกจากนี้ประกาศคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา (คปภ.) เรื่องหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 กำหนดให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร คณะ และสถาบันคณะทำงาน ฯ จึงได้พิจารณาจัดทำเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาที่ครอบคลุมทั้งระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน และรวมเรียกว่า The Council of the University Presidents Quality Assurance (CUPT QA) ทั้งนี้ ทปอ. ในการประชุมครั้งที่ 6/2557 วันที่ 21 ธันวาคม 2557 และ ทอมก ในการประชุมครั้งที่1/2558 วันที่ 23 มกราคม 2558 ได้มีมติอนุมัติให้สถาบันอุดมศึกษาใน ทปอ. และ ทอมก ใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA ที่คณะทำงาน ฯ ได้พัฒนาขึ้นสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอกเป็นชุดเดียวกัน เพื่อสถาบันอุดมศึกษาได้ลดภาระที่เกิดจากการทำงานซ้ำซ้อน และได้ใช้เกณฑ์ที่เหมาะสมหรือบูรณาการกับการพัฒนาตามแนวทาง EdPEx มุ่งสู่การดำเนินการตามแนว EdPEx อย่างเต็มรูปแบบต่อไป

 

                   

 

EdPEx (Educational Criteria for Performance Excellence) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

ExPEx ย่อมาจาก “Education Criteria for Performance Excellence” หรือ “เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ” ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการตามแนวทางของเกณฑ์ Malcolm Baldrige National Quallity Award : MBNQA  ที่เป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) โดยเกณฑ์นี้เป็นที่ยอมรับและรู้จักกันในวงการการศึกษา และมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งทั้งในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงค์โปร์ ฮ่องกง นำเกณฑ์นี้ไปใช้เพื่อพัฒนาตนเอง สำหรับประเทศไทยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2545 โดยใช้ชื่อว่าเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA)

เกณฑ์ EdPEx คือ กรอบที่ทำให้มอง/คิดและบริหารองค์กรในเชิงระบบ มองทุกระบบเชื่อมโยงกันหมด และช่วยให้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษานำมาใช้เพื่อเป็นกรอบ การดำเนินงานบริหารจัดการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สามารถเทียบได้กับสากล

เกณฑ์ EdPEX ประกอบด้วยโครงร่างองค์กรและชุดคำถามเกี่ยวกับเรื่องสำคัญ 7 ด้าน ในการบริหารและดำเนินงานของสถาบัน ได้แก่

หมวด 1 : การนำองค์การ

หมวด 2 : การวางแผนเชิงกลยุทธ์

หมวด 3 : การมุ่งเน้นลูกค้า

หมวด 4 : การวัด  การวิเคราะห์  และการจัดการความรู้

หมวด 5 : การมุ่งเน้นบุคลากร

หมวด 6 : การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ

หมวด 7 : ผลลัพธ์

โดยเกณฑ์จะมุ่งเน้นเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน กระบวนการ ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นๆ บุคลากร การนำองค์กรและธรรมาภิบาล รวมถึงงบประมาณ การเงินและการตลาด องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้มั่นใจได้ว่า กลยุทธ์ของสถาบันมีความสมดุล เกณฑ์ไม่ได้กำหนดวิธีการซึ่งองค์กรสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมที่สุด และยังช่วยให้ท่านสามารถประเมินว่าตอนนี้สถาบันของท่านอยู่ในตำแหน่งใดโดย Benchmarking (คู่เทียบเคียง) เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบในการพัฒนาหรือหาแนวปฏิบัติและผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ เกณฑ์จะช่วยในท่านมีเครื่องมือในการตรวจสอบระบบการบริหารงานทุกภาคส่วน พัฒนาปรับปรุงกระบวนการและผลลัพธ์โดยตระหนัก/คำนึงถึงภาพโดยรวมของสถาบัน

 

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA)

                                                                     

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA) เริ่มต้นตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งรางวัลคุณภาพแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย และด้วยตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้บรรจุรางวัลคุณภาพแห่งชาติไว้ในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเผยแพร่ สนับสนุน และผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคการผลิตและการบริการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ องค์กรที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการในระดับมาตรฐานโลกจะได้รับการประกาศเกียรติคุณด้วยรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และองค์กรที่ได้รับรางวัลจะนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์  เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อมีการขยายการดำเนินงานไปอย่างกว้างขวางย่อมจะส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าโลกได้

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ถือเป็นรางวัลระดับโลก (World Class) เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เป็นต้น

 

สล็อตเว็บตรง แตกง่าย มาตรฐานสูงสุด เว็บสล็อต เกมนอกเว็บไหนดี ที่สุดคือ เว็บสล็อตแท้ 

สล็อตเว็บตรง แตกง่าย มาตรฐานสูงสุด เว็บสล็อต เกมนอกเว็บไหนดี ที่สุดคือ เว็บสล็อตแท้ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งคำถาม ที่หลายคนนั้น Request และตั้งคำถามมาในกระทู้เว็บไซต์ของเราเรียกได้ว่ามีหลายท่านก็อยากจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า สล็อตเว็บตรง แตกง่าย มาตรฐานสูงสุด ซึ่งการเลือกเล่นเกมซักเกมอยากจะเลือกเว็บไซต์ที่มีคุณภาพที่ได้รับความนิยมและได้รับมาตรฐานดีที่สุด วันนี้เราจะมาแนะนำผู้ให้บริการหลักที่ได้รับความนิยมสูง เว็บสล็อต เกมนอกเว็บไหนดี ที่นี่เรียกได้ว่าตอบโจทย์ทุกความสนุกและความต้องการสำหรับเล่นในทุกๆ ท่านอย่างแท้จริง เรานั้นเป็นอีกหนึ่งผู้ให้บริการ เว็บแท้ เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์ และดีที่สุดคือ เว็บสล็อตแท้ คัดสรรความสะดวกให้ทุกท่านเลือกเล่นเกมสล็อต บนหน้าจอ ไม่ว่าจะเลือกเล่นเกมในไหน ก็สนุกเพลิดเพลิน ทำเงินได้ไม่ยาก เปิดโอกาสให้ผู้เล่นหน้าใหม่ เข้ามาร่วมสนุก สล็อตเว็บตรง แตกง่าย มาตรฐานสูงสุด ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล เราพร้อมให้บริการทุกท่าน เว็บสล็อตแท้ ทดลองเล่นฟรี การเงินที่มั่นคงด้วยความจริงใจสนุกง่ายตลอด 24 ชั่วโมง 

เว็บสล็อตแท้ ทดลองเล่นฟรี เว็บสล็อต เกมนอกเว็บไหนดี ไม่เสียค่าใช้จ่าย เว็บสล็อตตรง 

เว็บสล็อตแท้ ทดลองเล่นฟรี เว็บสล็อต เกมนอกเว็บไหนดี ไม่เสียค่าใช้จ่าย เว็บสล็อตตรง สำหรับใครที่อยากรู้และอยากอยากร่วมสนุก ร่วมเปิดประสบการณ์ใหม่กับเกมสล็อตออนไลน์ วันนี้คัดสรรความสุขให้ทุกท่านหน้าจอ สามารถร่วมสนุกกับ เว็บสล็อตแท้ ทดลองเล่นฟรี ที่ทางเรานั้นได้คัดสรรมาให้ผู้เล่นหน้าใหม่ทุกท่านเข้ามาร่วมสนุกบนเว็บไซต์ของเราที่่เปิดให้บริการผู้เล่น ที่สนใจสามารถเข้าร่วมสนุกและทดลองเล่นฟรีได้ไม่ยาก แค่สมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ เว็บสล็อต เกมนอกเว็บไหนดี ไม่เสียค่าใช้จ่าย แล้วยืนยันรหัส otp จากนั้นรับโบนัสเครดิตฟรี เราแจกให้ไม่อั้น พร้อมฟรีสปินที่สามารถซื้อได้แบบไม่จำกัด สนุกไปพร้อมๆ กันไม่ว่าจะเลือกเล่นผ่านทางระบบในไหน ก็รองรับทุกการเล่น ทุกแพลตฟอร์ม เกมนอกเว็บไหนดี ไม่เสียค่าใช้จ่าย เว็บสล็อตตรง สนุกเป็นอย่างมากเพลิดเพลินได้ไม่ยาก เพียงเลือกเล่นเกมสล็อตเว็บเดียวกับเราที่เป็นเว็บตรงนำเข้าของจริง 100% ปลอดภัยทุกการเข้าเล่น เว็บสล็อต เกมนอกเว็บไหนดี เว็บสล็อตตรง ที่ปลอดภัย สล็อตเว็บตรง แตกง่าย การเงินมั่นคง มีความมั่นคงทางการเงินสูงปลอดภัยชัวร์